หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้เริ่มจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2549 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและเป็นที่ต้องการของสังคม ตลอดจนสามารถบริหาร จัดการ และประยุกต์ใช้เครื่องมือด้านสารสนเทศให้แก่องค์กรทั้งภายใน ภายนอก และระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการดาเนินการจัดการเรียนการสอนภายใต้ชื่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Bachelor of Science Program in Information Technology) จานวน 3 แขนงวิชา ดังต่อไปนี้ 1. แขนงวิชาการจัดการสารสนเทศ (Information Management) 2. แขนงวิชาวิทยาการสารสนเทศ (Informatics) 3. แขนงวิชาสารสนเทศทางการบริหารธุรกิจ (Information for Business Administration) จากนั้นในปี 2554 หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดาเนินการปรับปรุงและแก้ไขร่างหลักสูตรฯ เดิมจานวน 3 แขนง บูรณาการเข้าด้วยกันเป็นสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนมากยิ่งขึ้น โดยยึดหลักการบริหารจัดการที่คานึงถึงการปรับตัวล่วงหน้า เพื่อพร้อมรับแนวโน้มบริบทที่จะเปลี่ยนแปลง และสามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาคอาเซียน ภายใต้ชื่อหลักสูตรเดิม คือ "หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ" โดยการพิจารณาอนุมัติ / เห็นชอบหลักสูตร จากคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลังสูตร พิจารณาหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 7 (11)/2553 และครั้งที่ 1/2554 จากคณะกรรมการสภาวิชาการ พิจารณาหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 6 (8)/2553 และครั้งที่ 1(9)/2554 และจากสภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 1 (28)/2554 โดยปัจจุบันโครงสร้างหลักสูตรด้านการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย 3 หมวดหลัก ดังนี้ 1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จานวน 30 หน่วยกิต 2) หมวดวิชาเฉพาะ จานวน 93 หน่วยกิต แบ่งเป็นวิชาแกน จานวน 12 หน่วยกิต วิชาเฉพาะด้าน 48 หน่วยกิต วิชาเลือก 30 หน่วยกิต และวิชาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม 3 หน่วยกิต และ 3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต รวมจานวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรทั้งสิ้น 129 หน่วยกิต ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป ด้านการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ควบคู่คุณธรรม จริยธรรม และสานึกต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อพัฒนาให้เป็นคนดี และคนเก่งของสังคมนั้น หลักสูตรฯ ได้ดาเนินการจัดการเรียนการสอน โดยยึดความสอดคล้องกับแผนการผลิตบัณฑิตของคณะวิทยาศาสตร์ฯ และของมหาวิทยาลัย สาหรับคุณภาพของบัณฑิตอันพึงประสงค์ ซึ่งได้มีการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาคณาจารย์ ตลอดจนการสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากผลการประเมินตนเอง (SAR: Self Assessment Report) และกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาต่าง ๆ ที่ได้รับการอนุมัติจากมหาวิทยาลัย อาทิ โครงการสานสัมพันธ์นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการเสริมศักยภาพนักศึกษาเพื่อพัฒนาสู่เวทีวิชาการระดับชาติ โครงการบูรณาการความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อเสริมศักยภาพนักศึกษา และโครงการจัดทามัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Media) เพื่อส่งเสริมและยกระดับองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ในระดับอาเซียน เป็นต้น ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรฯ จึงเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี นาไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาชีพ จากความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่เน้นการบริการและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอนาตคข้างหน้านี้จะเกิดการปฏิรูปการทาธุรกิจ จากธุรกิจบนฐานของ "สินค้า" ไปสู่ธุรกิจบนฐานของ "บริการ" ซึ่งไม่เพียงแต่จะทาให้รูปแบบการดาเนินธุรกิจเปลี่ยนไปเท่านั้น แต่การปฏิรูปธุรกิจในครั้งนี้จะนาไปสู่การเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจจากระบบเศรษฐกิจฐานการผลิตไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานบริการ การเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้นามาทั้งโอกาส ซึ่งธุรกิจที่ตระหนักและพร้อมเท่านั้นที่จะสามารถมองเห็นแนวโน้มนี้และหยิบคว้ามาเป็นโอกาสทางธุรกิจระบบเศรษฐกิจฐานบริการ ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน มาแข่งขันกันที่การบริการมากขึ้น ซึ่งการบริการที่ว่านี้มีด้วยกัน 2 ประเภท บริการประเภทแรก คือ การบริการที่มากับตัวสินค้า (Smart Service) โดยการทาให้ตัวสินค้ามีความฉลาดมากขึ้น สินค้าจะสามารถให้บริการผู้ใช้ได้มากขึ้น เพื่อตอบสนองให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งบริการประเภทนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยอย่างมาก กับการบริการอีกประเภทหนึ่ง คือ การบริการที่ผูกติดอยู่กับความเชี่ยวชาญ ความชานาญและทักษะของคน ซึ่งบริการประเภทนี้เป็นเทคนิคใหม่ของธุรกิจ ขนาดและความใหญ่ของตลาดประเภทนี้ไร้ขอบเขตและข้อจากัด เพราะรูปแบบของสินค้าในรูปของบริการประเภทนี้ สามารถเป็นอะไรก็ได้แล้วแต่ว่าธุรกิจนั้นจะสามารถมีความคิดสร้างสรรค์มากน้อยเพียงใด และเชื่อกันว่าบริการประเภทนี้จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้นหลักสูตรที่ปรับปรุงและพัฒนาขึ้นนี้เน้นการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและเป็นที่ต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน โดยมีจุดเด่นด้านบุคลิกภาพเฉพาะตามวัฒนธรรมสวนดุสิต สร้าง พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้มีจิตบริการบูรณาการกับความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สามารถสร้างการพัฒนาความเข้มแข็งชุมชน สังคม และประเทศ ในลักษณะการให้บริการวิชาการ ทะนุบารุงศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล เช่น ด้านเทคโนโลยีสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green IT) อย่างยั่งยืน เผยแพร่และส่งเสริมปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างและพัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการมีความรู้พื้นฐานการบริหารจัดการที่คานึงถึงการปรับตัวล่วงหน้าเพื่อพร้อมรับแนวโน้มบริบทที่จะเปลี่ยนแปลงและสามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาคอาเซียน
ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า
ประธานหลักสูตร
โทรศัพท์ 02-244-5630
อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ ภิรมย์นก
กรรมการ
โทรศัพท์ 02-244-5630
อาจารย์ทินกร ชุณหภัทรกุล
กรรมการ
โทรศัพท์ 02-244-5630
อาจารย์วัชรากรณ์ เนตรหาญ
กรรมการ
โทรศัพท์ 02-244-5630
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติยา เนตรวงษ์
อาจารย์ประจำหลักสูตร
โทรศัพท์ 02-244-5630
อาจารย์กิ่งกาญจน์ ทองงอก
อาจารย์ประจำหลักสูตร
โทรศัพท์ 02-244-5272
อาจารย์เขมขนิษฐ์ แสนยะนันท์ธนะ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
โทรศัพท์ 02-244-5630
อาจารย์ชูติวรรณ บุญอาชาทอง
อาจารย์ประจำหลักสูตร
โทรศัพท์ 02-244-5630
ดร.เฟื่องฟ้า เป็นศิริ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
โทรศัพท์ 02-244-5630
อาจารย์ภูริพจน์ แก้วย่อง
อาจารย์ประจำหลักสูตร
โทรศัพท์ 02-244-5630
นางสาวสุขทิพย์ สุขใส
เลขานุการประจำหลักสูตร
โทรศัพท์ 02-244-5630
--งานวิจัยฉบับสมบูรณ์ .
.
.
.
--งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ .
.
.
.
--เอกสารประกอบการเรียน
Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form